ทำไมถึงใช้ MikroTik ในงานเสียงและไลฟ์
เมื่อก่อนก็พกเร้าเตอร์ธรรมดาแหละ แต่พอศึกษาและเข้าใจไมโครติกแล้ว มันตอบโจทย์กว่ามาก เวลาเจอท่ายากทั้งหลายก็ใช้มันแก้ปัญหาได้ อย่างเช่น...
ต้องบอกก่อนว่า ไมโครติกคือเร้าเตอร์ ที่จะคอนฟิกให้มันเป็นอะไรยังไงก็ได้ รับเน็ตทางโน้น ด้วยวิธีแบบนั้นปล่อยทางนี้ ไม่ได้ตายตัวเหมือนเร้าเตอร์ Home Use ทั่วไป (แต่ก็ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ที่รุ่นนั้นมี และความสามารถของคนคอนฟิกด้วยนะ ๕๕๕) และราคาก็ไม่แพงด้วย แทบไม่ต่างจากเร้าเตอร์บ้านทั่วไปเลยก็ว่าได้
ตัวอย่างแรก
เวลาไปเที่ยว ไปทำงานที่ไหน แล้วเจอแต่พอร์ทแลน ก็เอาตัวนี้นี่แหละเสียบ คอนฟิกให้กระจายไวไฟ ให้คอม มือถือ ไอแพด ให้เพื่อนอะไรก็ว่าไป พกติดไว้ในกระเป๋าคอมเลย ตัวนี้เป็นรุ่น hAP Mini แต่หน้าตาน้องของเดิมไม่ใช่แบบนี้นะ เครื่องมันใหญ่ เลยปริ้นเคสใหม่ใส่ให้มันเล็กลง
ตัวอย่างที่สอง
ตัวนี้เป็น hAP ac2 ใส่ไว้กับถุงเครื่องมือเวลาไปทำงานเสียง เวลาใช้ iPad ต่อกับมิกเซอร์ เอาไว้เดินมิกซ์ในงาน ก็คอนฟิกให้แจก DHCP และก็ AP ปล่อยไวไฟ อันนี้ไม่มีอะไรยาก ท่าพื้นฐาน (ใครจะเริ่มเล่นแนะนำให้จัดรุ่นนี้ สองพันนิด ๆ แต่โคตรแรง)
ตัวอย่างที่สาม
ต่อจากข้างบนนั่นแหละ แต่อันนี้เซทให้รับอินเทอร์เน็ตในงาน หรือไวไฟสาธารณะมาใช้ด้วย เท่ากับว่าเวลาใช้คอมพิวเตอร์คุมมิกเซอร์ ก็ยังมีอินเทอร์เน็ตใช้อยู่ ใช้เปิดยูทูบ เปิดเพลง โหลดไฟล์โชว์ต่าง ๆ ไม่ต้องมาคอยสลับเน็ต
ใช้ไลฟ์ รับเน็ตสายเส้นหลัก และก็แบคอัพด้วยมือถือแอนดรอยหรือแอร์การ์ด แล้วให้มันสลับเน็ตเองเวลาเส้นไหนเส้นนึงดับ (แค่สลับนะ ไม่ได้รวมความเร็ว)
ตัวอย่างที่ห้า
ใช้ลิงค์ระหว่างเวทีกับคอนโทรล เชื่อมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ฝั่งเวทีก็ต่อกับแอมป์ ฝั่งคอนโทรลก็เชื่อมต่อกับคอม และมิกเซอร์ และทั้งสองฝั่งก็กระจายไวไฟด้วย เชื่อม iPad เดินทั่วงาน สัญญาณไม่มีหลุด
ตัวอย่างที่หก
แยกร่าง! ครึ่งตัวทำเป็นเครือข่ายสำหรับไลฟ์สตรีม วิ่ง NDI อะไรก็ว่าไป อีกครึ่งนึงก็ใช้เป็นเครือข่ายคอนโทรลระบบเสียง ทั้งสองเครือข่ายนี้ไม่เห็นกัน แต่ออกเน็ตได้เหมือนกัน
ตัวอย่างที่เจ็ด
เอามาทำเป็น AP ไว้ในที่ที่เหมาะสม เพราะน้องรับ PoE ได้แทบทุกรุ่น ไม่ต้องหาสายไฟให้ยุ่งยาก
Comments
Post a Comment