เทคนิคการใช้ WiFi ควบคุมมิกเซอร์ ให้ไปได้ไกล และไม่หลุด

 คุณอาจจะเคยเจอปัญหานี้.. ใช้ iPad คอนโทรลมิกเซอร์ ขยับก็หลุด ไกลก็หลุด หรือว่าบางทีตอนซาวด์เช็คไม่เป็นไร พอคนดูเข้า เริ่มโชว์เท่านั้นแหละ หลุดยับ

ลองอ่านแนวทางข้างล่างนี้ดูครับ เป็นวิธีที่ผมใช้อยู่ตลอดเวลาทำงาน เขียนให้เข้าใจง่าย ๆ ลองเอาไปปรับให้เข้ากับหน้างาน และอุปกรณ์ที่ท่านใช้ดู


1. ติด Access Point ให้มี Line of Sight

พูดง่าย ๆ ก็คือให้อุปกรณ์ของเรา กับตัว AP เห็นกัน ไม่มีอะไรมาบังนั่นเอง จะเอาไปติดไว้กับโครงสร้างเวที ขึ้นขาไมค์ อะไรก็แล้วแต่ ดีกว่าเอาไปวางหลบ ๆ ไว้ข้างมิกเซอร์

2. หาช่องสัญญาณที่ว่าง

WiFi ก็คล้ายกับไมค์ลอย เขาสื่อสารกันด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งมีช่องให้ใช้จำกัด และอาจจะมีคนอื่นใช้อยู่ก่อนหน้าเราแล้ว เราก็ต้องหาช่องที่ว่างเพื่อใช้งาน แต่ถ้าไม่มีช่องว่างเลย ก็เอาช่องที่มีคนใช้งานน้อยที่สุด (แต่ไม่แนะนำให้เข้า DFS Channel นะ)

อันนี้แนะนำให้สแกนตอนเซทอัพเสร็จแล้วทุกทีม (เสียง แสง กล้อง ไลฟ์ อะไรก็ว่าไป) รอบนึง เพราะเขาก็อาจจะมีระบบของเขาด้วย ได้หลบกันเอง และก่อนโชว์อีกรอบนึง เพราะคนดูก็อาจจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ติดเข้ามาด้วย

3. ใช้ Channel Width แคบ ๆ

เนื่องด้วยระบบคอนโทรล ไม่ต้องการใช้ Bandwidth อะไรมากมาย ข้อมูลวิ่งกันไม่กี่ Mbps ดังนั้นก็ไม่จำเป็นต้องตั้งค่าให้ใช้ Channel Width กว้าง ๆ เพื่อให้ส่งข้อมูลได้เยอะ ใช้แคบ ๆ ก็พอแล้ว เราก็ไม่กวนคนอื่น คนอื่นก็ไม่กวนเราด้วย

4. ต่อเฉพาะเครื่องที่จำเป็น

WiFi เป็นระบบที่คุยทีละเครื่อง เหมือนเรานั่งล้อมวงกัน แล้วพูดทีละคนจนครบรอบ ดังนั้นยิ่งต่อเยอะ ก็ยิ่งเสียเวลารอเยอะ ดังนั้น ต่อเฉพาะเครื่องที่ใช้งานพอ

รูปภาพจาก UEWA Training ของ Ubiquiti


5. ใช้สายสัญญาณและอแดปเตอร์ที่มีคุณภาพ

เหมือน Audio Network อย่างเช่น Dante หรือ AES50 เลยจ้า เสียงมา ๆ หาย ๆ เปลี่ยนสายแล้วหาย WiFi ก็เช่นกัน บางทีอุปกรณ์เราไม่ผิดอะไร สายสัญญาณนี่แหละไม่ดี

และอีกอย่างนึงที่เจอบ่อยคืออุปกรณ์ PoE ที่ไม่มีคุณภาพ ไปซื้อของเทียบของจีนมาใช้ สุดท้ายไฟไม่พอ หลุดบ่อย หรือบางทีอุปกรณ์เรารีสตาร์ทเองไปเลยก็มี

จบแล้วจ้า ทำตามแล้วผลเป็นอย่างไร มาคอมเมนต์บอกกันข้างล่างหน่อย

Comments

Popular posts from this blog

5 เหตผลที่ไม่แนะนำให้ซื้อเครื่อง Xeon มือสอง ในปี 2020

UPS ไหม้ เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง

รีวิวบอร์ด Relay 8 ช่อง มี ESP8266 และ Step Down ในตัว